วันพฤหัสบดีที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2558

รายงานสารคดี

โครงงานสารคดี เรื่อง .....

กลุ่มที่ 7

สมาชิก
1.นายณัฐพงศ์ สุวรรณพงศ์ เลขที่ 2 ม.5/11
2.นางสาวจิตติมน ไชยพัฒน์ เลขที่ 27 ม.5/11
3.นางสาวภัทรนันท์ ปรชญางกูร เลขที่ 33 ม.5/11

วิธีดำเนินการ
1.ปรึกษากันภายในกลุ่มเพื่อเลือกหัวข้อที่สนใจศึกษา
2.แบ่งหน้าที่ในการรับผิดชอบงานให้แก่สมาชิกในกลุ่ม
3.เริ่มทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานที่สนใจและสื่อที่จะใช้ในการนำเสนอโครงงาน
4.จัดทำโครงงานโดยเขียนเป็นรายงาน
5.ตรวจสอบและแก้ไขข้อบกพร่อง
6.นำเสนอรายงานต่ออาจารย์เป็นระยะๆเพื่อขอคำแนะนำในการพัฒนาโครงงาน

ผลการดำเนินการ
            โครงงานที่เราสนใจศึกษาเป็นโครงงานเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ซึ่งในปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักมีการใช้ภาษาไทยที่ผิดๆ กลุ่มเราจึงจัดทำสารคดีการรณรงค์ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องโดยนำเสนอใน 2 แง่มุมคือบอกถึงข้อดีและข้อเสียในการใช้ภาษาไทยแบบผิดๆ และให้ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง โดยมีการนำเสนอผ่านทางสื่อวิดีโอโดยใช้โปรแกรม ulead videostudio 11

แหล่งเรียนรู้
-  สืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์

-  ทำแบบสอบถามออนไลน์

หลักฐานประกอบ






วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558


ตัวอย่างสารคดี

                                                              สารคดีเรื่องปลาโลมา
 

 
          โลมา เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งอาศัยอยู่ในน้ำและมีสติปัญญาสูงชนิดหนึ่ง มีเชื้อสายใกล้เคียงกับ วาฬ ในภาษาอังกฤษเรียกโลมาว่า Dolphin มาจากภาษากรีกโบราณ δελφίς เดลฟิส (delphis) ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์

รูปร่างของโลมา

โลมา อาศัยอยู่กระจัดกระจายทั่วไปในมหาสมุทรนับร้อยชนิด แต่ในประเทศไทยที่เรารู้จักกันดีมีอยู่ 2 ชนิด คือ โลมาปากขวด กับ โลมาหัวบาตร บางครั้งยังพบโลมาอยู่ในแม่น้ำอีกด้วย เช่น ในแม่น้ำคงคาที่ประเทศอินเดีย และในแม่น้ำโขง เป็นโลมาหัวบาตรน้ำจืด โลมา มีอวัยวะต่างๆทุกๆ ส่วนเหมือนกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป หากแต่ละส่วนของอวัยวะ จะปรับเปลี่ยนต่างไปจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ดังนี้ จมูก โลมามีจมูกไว้หายใจ แต่จมูกนั้นต่างไปจากจมูกของสัตว์ อื่นๆ เพราะตั้งอยู่กลางกระหม่อมเลยทีเดียว เพื่อให้สะดวกต่อการเชิดหัวขึ้นหายใจเหนือน้ำ จากจมูกมีท่อหายใจต่อลงมาถึงปอดในตัว จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำผ่านเหงือกเข้าไปในปอดเพื่อช่วยหายใจเหมือนปลาทั่วไป หู หูของโลมานั้นเป็นเพียงแค่รูเล็กจิ๋วติดอยูด้านข้างของหัวเท่านั้น แต่หูของโลมามีประสิทธิภาพสูงมาก รับคลื่นเสียงใต้น้ำได้อย่างยอดเยี่ยม โดยเฉพาะกับภาษาที่โลมาสื่อสารกันด้วยเสียงที่มีคลื่นความถี่สูง การมองเห็น โลมามีดวงตาแจ่มใส เหมือนตาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีเปลือกตาปิดได้ และในเวลา กลางคืนตาก็จะเป็นประกาย เหมือนตาแมว ตาของโลมาไม่มีเมือกหุ้มเหมือนตาปลา และมองเห็นได้ไกลถึง 50 ฟุต เมื่ออยู่ในอากาศ สีผิว สีผิวของโลมาแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน ส่วนมากจะออกไปในโทนสีเทา ตั้งแต่เข้มเกือบดำ จนกระทั่งถึงเกือบขาว แต่โดยทั่วไปปลาโลมาจะมีสีผิวแบบทูโทนคัลเลอร์ คือมีสองสีตัดกัน ด้านบน เป็นสีเทาเข็ม ด้านล่างเป็นสีเกือบขาว เพื่อพรางตัวในทะเล ไม่ให้ศัตรูเห็น เพราะเมื่อมองจากด้านบน สีเข็มจะกลืนกับสีน้ำทะเล และถ้ามองจากด้านล่างขึ้นไป สีขาวก็จะกลืนเข้ากับแสงแดดเหนือผิวน้ำ

ความฉลาดของโลมา

ว่ากันว่า โลมานั้นฉลาดไม่แพ้เด็กตัวเล็กๆ เลยทีเดียว ที่เป็นเช่นนี้เพราะโลมามีขนาดสมอง เมื่อเทียบกับลำตัวขนาดใหญ่มาก แถมภายในสมองยังซับซ้อนอีกด้วย โลมาปากขวดนั้นถึงกับมีขนาดของสมอง เทียบกับลำตัวใหญ่เป็นที่สองรองจากมนุษย์ และ สมองส่วนซีรีบรัม อันเป็นส่วนของความจำ และการเรียนรู้ ก็มีขนาดใหญ่มาก เป็นศูนย์รวมของการรับกลิ่น การมองเห็น และการได้ยิน จนทำให้ นักวิทยาศาสตร์ผู้หนึ่ง กล่าวว่า ไม่แน่นักว่าโลมาอาจจะฉลาดเท่ากับมนุษย์ก็เป็นได้ โลมาผู้ช่วยชีวิต เรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาโลมาช่วยชีวิตคนนั้นมีอยู่บ่อยครั้ง แต่จริงๆแล้ว เป็นเพราะปลาโลมาต้องการช่วยชีวิตคนจริงๆ หรือ เชื่อว่าจริงๆ แล้ว ปลาโลมานั้นเป็นปลาที่อ่อนโยน รักสนุก และขี้เล่น ที่มันช่วยคนอาจเป็นเพราะมันต้องการเข้ามาเล่นสนุกๆ เท่านั้น หรือไม่เช่นนั้นก็อาจเป็น สัญชาตญาณของแม่ปลาที่มักจะดุนลูกขึ้นไปหายใจบนผิวน้ำอยู่เสมอ โดยเฉพาะถ้าลูกปลาเสียชีวิต ระหว่างคลอด จะพบว่าแม่ปลาจะพยายามดุนศพลูกเอาไว้ให้ใกล้ผิวน้ำมากที่สุด ภัยร้ายของโลมา ในประเทศไทย โลมาที่ติดอวนมาแล้ว จะถูกชำแหละเนื้อขายด้วยราคาถูกๆ เนื่องจากเนื้อปลาโลมามีความคาวมาก จึงไม่มีผู้นิยมบริโภคเท่าใดนัก ในประเทศญี่ปุ่น แต่เดิมเคยเป็นประเทศที่ล่าปลาวาฬมากที่สุดในโลก จนกระทั่งปลาวาฬใกล้สูญพันธ์ จึงถูกสั่งห้ามล่าปลาวาฬ หันมาล่าปลาโลมาแทน โดยเพิ่มปริมาณการล่าโลมาขึ้นเป็นสี่เท่า ทำให้โลมาในทะเลญี่ปุ่นลดน้อยลงเป็นอันมาก
 
 
                                                         ตัวอย่างสารคดี
 

 

การทำรายการสารคดี


ขั้นตอนการทำรายการสารคดี

หลังจากที่ได้เตรียมงาน กำหนดเรื่อง กลุ่มผู้ชม ผู้ฟัง หัวข้อเรื่อง แกนของเรื่อง เนื้อหาประเด็น รวมทั้งชื่อเรื่องแล้ว จะมีขั้นตอนการทำดังนี้

1. ตัดสินใจเกี่ยวกับหัวเรื่อง เช่นการบรรยายและเรื่องแทรกต้องติดต่อกันหรือไม่ สิ่งที่เพิ่มเติมในรายการ ส่วนประกอบที่ต้องใช้ ได้แก่ ผู้เขียนแบบบันทึกเสียง ผู้แปล การประกอบเสียง รูปแบบ การทำข่าว

2. ศึกษาข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสัมภาษณ์ และเรื่องแทรกอื่นๆ ข้อเท็จจริง ผู้ให้คำแนะนำ ผู้ให้สัมภาษณ์ สถานที่

3. พิจารณาผู้ช่วยเหลือ ที่จะช่วยเก็บข้อมูล หรือร่วมในรายการ

4. บันทึกเรื่องประกอบ ทำเมื่อความคิดเกี่ยวกับโครงเรื่อง การติดต่อแน่นอนแล้ว ควรระวังเรื่องคุณภาพทางเทคนิคด้วย

5. การตัดต่อเทปครั้งแรก ควรตัดส่วนที่ไม่แน่ใจว่าไม่ใช้ออก ตัดต่อให้มีลักษณะต่อเนื่องและอาจไม่ต้องเอาใจใส่ในเรื่องความผิดพลาดมากนัก แต่ต้อวอลงฟังดูหลายๆครั้งจนกระทั่งรู้สึกว่าแต่ละส่วนต่อเนื่องกันอย่างเหมาะสม และเกิดความคิดเกี่ยวกับคำบรรยาย นอกจากนั้นควรเตรียมพร้อมที่จะบันทึกเพื่อเติมในส่วนที่ขาดหายไป แล้วบันทึกส่วนย่อยที่จัดลำดับไว้เป็นที่น่าพอใจแล้วลงในเทป และเว้นที่ว่างของส่วนหัวเทปและปลายเทปให้มาก

6. เตรียมเขียนบทที่ใช้ผลิตรายการ หลังจากตัดสินแน่ใจในส่วนประกอบต่างๆแล้ว ก็สามารถเขียนบทบรรยายจริงได้ การบันทึกสัญญาณเตือน ช่วงเวลา การเปลี่ยนความดังของเสียงเพลง และเสียงประกอบทั้งหลาย ต้องถูกต้องตามกำหนดเวลาและทำเครื่องหมายให้ชัดเจน นอกจากนั้นเริ่มรายการเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรเน้นสิ่งที่น่าสนใจ พยายามชี้ให้เห็นถึงส่วนหนึ่งน่าสนใจตลอดเวลา ซึ่งต้องระมัดระวังมากในการเขียนบท

 7. การบันทึกรวม เป็นการบันทึกส่วนต่างๆทั้งหมดทีเดียว ป้องกันตามแผนที่วางไว้ เพื่อให้รายการต่อเนื่อง มีความหลากหลาย น่าสนใจติดตามชมและฟัง เมื่อเสร็จควรตรวจสอบความกระชับของรายการและความต่อเนื่อง ซึ่งอาจปรับปรุงด้วยการตัดต่ออีกครั้ง

หลักการเขียนสารคดี


สารคดีเป็นงานเขียนที่มีมานานแล้วในประเทศไทย  แต่นิยมเขียนไว้ในรูปของ  พงศาวดาร  ตำนาน  ตำรา  หนังสือสอนศาสนา  จดหมายเหตุ  ประกาศของทางราชการ ฯลฯ  การเขียนสารคดีของไทยเริ่มมีรูปแบบที่ชัดเจนในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ทั้งนี้เพราะได้มีการติดต่อกับประเทศทางตะวันตก

๑.          ความหมายของสารคดี      

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช  ๒๕๔๒ อธิบายความหมายของสารคดีว่า  หมายถึง  เรื่องที่เขียนขึ้นจากเค้าความจริง  มิใช่เรื่องที่เกิดจากจินตนาการ  งานเขียนสารคดีจึงเป็นข้อเขียนที่ผู้เขียนต้องการจะให้สาระ ความรู้ ความคิด  โดยไม่ใช้จินตนาการและอารมณ์ผสมผสานลงไป  แต่จะต้องใช้ภาษาสำนวนที่มีศิลปะ  คมคาย  เพื่อให้ผู้อ่านเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน

ด้วยเหตุที่  สารคดีเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นจากความเป็นจริง  ทำให้เนื้อหาของสารคดีเกี่ยวกับเรื่องราวต่าง ๆ   ได้แก่  บุคคล  ภูมิศาสตร์  ประวัติศาสตร์  วิทยาศาสตร์  การเดินทางท่องเที่ยว การอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น  แนะนำกิจกรรมต่าง ๆ  สถานสำคัญในแต่ละท้องถิ่น       

 ๒.    ประเภทของสารคดี                 

 สารคดีแบ่งเป็นประเภทได้ดังนี้           

                  ๒.๑  สารคดีบุคคล  เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับชีวิตที่น่าสนใจของบุคคลทั่วไปในแง่มุมต่าง   

                 ๒.๒  สารคดีโอกาสพิเศษ  เป็นเรื่องที่เขียนตามเทศกาลสำคัญต่าง ๆ ของแต่ละชาติ เช่น  วันสุนทรภู่  วันวิสาขบูชา                

                 ๒.๓  สารคดีประวัติศาสตร์  เป็นเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ที่นำมาเขียนขึ้นเพื่อย้ำเตือนจิตสำนึกของอนุชนรุ่นหลัง  หรือให้เห็นความสำคัญ  เช่น  สงครามยุทธหัตถี  การสร้างกรุงเทพมหานคร                

                 ๒.๔  สารคดีท่องเที่ยว  เป็นการนำเรื่องราวที่พบเห็นจากการท่องเที่ยวมาเขียนถึงในแง่มุมต่าง ๆ ตามทัศนะของตน                

                ๒.๕  สารคดีแนะนำวิธีทำ  เป็นเรื่องเกี่ยวกับการแสดงขั้นตอนการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นการทำอาหาร  การผลิตธนบัตร                

               ๒.๖  สารคดีเด็ก  เขียนถึงเรื่องราวของเด็กในแง่มุมต่างๆ เช่น การเลี้ยงดู

การใช้แรงงานเด็ก               

               ๒.๗  สารคดีสตรี  เขียนถึงสตรีในแง่มุมต่าง ๆ                

               ๒.๘  สารคดีเกี่ยวกับสัตว์  เขียนถึงสัตว์ในแง่ของการให้ความรู้ที่เป็นสาระ                

               ๒.๙  สารคดีความทรงจำ  เป็นเรื่องราวของความทรงจำในอดีตที่เล่าให้ผู้อื่นเขียน  หรือเขียนเอง  เช่น  การละเล่นสมัยก่อน  การอพยพหนีสงคราม                

              ๒.๑๐  สารคดีจดหมายเหตุ  เป็นการบันทึกเหตุการณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ 

 ๓.     หลักการเขียนสารคดี

 การเขียนสารคดีมีหลักในการเขียน  ดังนี้

๓.๑   การเลือกเรื่อง   เรื่องที่นำมาเขียนเป็นสารคดี  จะต้องเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจ  หรือทันสมัย  หากเป็นเรื่องทั่ว ๆ ไป  หรือเรื่องที่เกิดขึ้นในอดีต  ก็ควรนำเสนอให้น่าสนใจด้วยมุมมองที่แปลกใหม่  มีประโยชน์แก่ผู้อ่าน  และมุ่งนำเสนอข้อเขียนที่เป็นความรู้  ความคิดจากเรื่องจริง  เหตุการณ์จริง  และจะต้องเขียนให้อ่านเพลิดเพลิน  มีอรรถรส

                ๓.๒   การตั้งชื่อเรื่อง  ควรตั้งชื่อเรื่องให้ผู้อ่านเกิดความสนใจ  สะดุดหู  สะดุดตา  ควรเป็นชื่อที่เข้ายุคเข้าสมัยในปัจจุบัน  ควรหาคำที่มีความหมายกว้าง ๆ  เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหา  แต่ชื่อเรื่องต้องตรงกับเนื้อหาด้วย  แนวทางการตั้งชื่อเรื่อง

-  แบบชี้นำเนื้อหา  โดยการนำความสำคัญของเนื้อหามาสรุปเป็นความคิดรวบยอดเช่น  ครูไทย...ภารกิจที่ไม่มีวันเสร็จสิ้น,  ยาบ้ามหาภัย

 -  แบบสำบัดสำนวน  นำสำนวนแปลก ๆมาใช้ เช่น  แสนแสบแสบสยิว  สยึ๋มกึ๋ย                         

               -  แบบคนคุ้นเคย  เหมือนผู้เขียนคุ้นเคยกับผู้อ่าน  เช่น  มาช่วยกันป้องกันเหตุร้ายกันเถอะ  การอยู่ร่วมกันในหมู่บ้านจัดสรร                         

                -  แบบคำถาม  เช่น  จริงหรือที่เขาว่าหัวหินสิ้นมนต์ขลัง                       

 -  แบบชวนฉงน  เช่น  ตายแล้วฟื้น,   ตายแล้วไป....                     

                ๓.๓  กำหนดจุดมุ่งหมายและแนวคิดสำคัญ    การกำหนดจุดมุ่งหมายอาจตั้งคำถามว่าต้องการเขียนให้ใครอ่าน ต้องการให้ผู้อ่านคิด/ ทำอย่างไร  ผู้เขียนต้องกำหนดแนวคิดให้ชัดเจนว่า  สารคดีเรื่องนี้ต้องการจะเสนอแนวคิดสำคัญอะไร  มีแก่นเรื่องอะไรนำเสนอแก่ผู้อ่าน  เพื่อจะได้นำเสนอเนื้อหาถ่ายทอดถ้อยคำหรือประโยคต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่แก่นเรื่องนั้น

                ๓.๔  การหาข้อมูล  แหล่งความรู้ที่ใช้ประกอบการเขียนสารคดี  ได้แก่  หนังสือ  สารานุกรม  นิตยสาร  วารสาร  วิทยุ  โทรทัศน์  อินเทอร์เน็ต  การสัมภาษณ์  การสนทนา  และการเก็บข้อมูลภาคสนาม  เป็นต้น

                ๓.๕  การวางโครงเรื่อง  ผู้เขียนต้องวางโครงเรื่องก่อนเขียน  เพื่อเป็นแนวทางในการเขียน  ว่าจะนำเสนอสาระสำคัญ  แยกเป็นกี่ประเด็น  ประเด็นใหญ่ ๆ มีอะไรบ้าง  ในประเด็นหลักมีประเด็นย่อย ๆ  มีตัวอย่าง  มีเหตุผล  เพื่อสนับสนุนประเด็นหลักอย่างไรบ้าง  การวางโครงเรื่องจะช่วยให้เขียนเรื่องได้โดยง่าย  ไม่สับสน  วกวน  นอกเรื่อง  ทำให้เรื่องมีเอกภาพ  มีลำดับต่อเนื่องกัน  และได้เนื้อความครบถ้วน

                ๓.๖  การลงมือเขียน  สารคดีมีองค์ประกอบเช่นเดียวกับความเรียงทั่วไป  คือ

 -  ความนำ / การเปิดเรื่อง                                   

-  เนื้อเรื่อง / การดำเนินเรื่อง                         

-  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง

๓.๖.๑   ความนำ / การเปิดเรื่อง  เป็นการเปิดเรื่องบอกกล่าวให้ผู้อ่านรู้ก่อนว่าจะเขียนอะไร  เพื่อชักจูงให้ผู้อ่านสนใจ  การขึ้นความนำอาจทำได้หลายประการ  เช่น

-  แบบสรุปเนื้อหาให้ผู้อ่านรู้ว่า  ใคร  ทำอะไร  ที่ไหน  เมื่อไร  ทำไม 

-  ขึ้นต้นจากชื่อเรื่องซึ่งเป็นเนื้อหาหลัก

-  เรื่องในสังคมที่คนกำลังสนใจ                                    

-  คำพูดของบุคคลสำคัญ

-  เล่าเรื่องลักษณะคล้ายนิทานแล้วโยงเข้าหาเนื้อเรื่อง

-  เหตูการณ์สำคัญในเรื่อง                                

-  ยกสุภาษิต  คำพังเพย  กวี  นิพนธ์  คำคม

-  ใช้ประโยคสำคัญ  ที่ปรากฏในเนื้อเรื่องมากล่าว

-  ใช้คำถาม                                                     

-  ยกเหตุการณ์เปรียบเทียบ

-  พรรณนา                                                     

-  ย้อนอดีต  โยงเข้าสู่เหตุการณ์ปัจจุบัน

 

                                       ๓.๖.๒   เนื้อเรื่อง  / การดำเนินเรื่อง   กลวิธีการดำเนินเรื่องของสารคดีอาจเป็นการเล่าเรื่องผ่านมุมมองของผู้เขียน  หรือมีการแทรกบทสนทนา  หรือบทสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้อง  ผู้เขียนต้องสอดแทรกความคิดเห็นของตนในเนื้อเรื่องด้วย  เนื้อเรื่องต้องมีส่วนที่เป็นใจความหลัก และส่วนขยายความให้เนื้อหาชัดเจนขึ้น  เช่น  การเสนอข้อมูลแสดงสถิติ  แสดงการเปรียบเทียบ  ตัวอย่างประกอบ  แต่อย่าให้มากเกินไป

 

                       ๓.๖.๓  ความลงท้าย / การปิดเรื่อง  เป็นส่วนทำให้ผู้อ่านประทับใจ  ควรเขียนให้กะทัดรัดจับใจผู้อ่าน  โดยการสรุปข้อมูล  ข้อคิด แสดงข้อคิดเห็น  คำแนะนำ  วิธีแก้ปัญหาของผู้เขียน  อย่างสร้างสรรค์  โน้มน้าวให้เกิดความร่วมมือ  สรุปให้เกิดความตระหนัก

 

               ๓.๗  การใช้ภาษา  ควรใช้ภาษาที่ชัดเจน  ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์  เพราะจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย  หากเป็นการใช้ศัพท์เฉพาะหรือภาถิ่นควรอธิบายความหมายไว้ด้วย  นอกจากนี้ควรใช้โวหาร  สำนวน  ภาพพจน์  ตลอดจนระดับภาษาให้เหมาะสมกับเนื้อเรื่อง  จะเขียนแบบพรรณนา  บรรยาย  อธิบาย  หรือ โน้มน้าว ก็ได้      

 

                 ๓.๘  ความยาวของสารคดี  ไม่ควรมีความยาวมากเกินไป  เพราะสารคดีมีลักษณะเป็นบทเป็นตอน  ไม่ใช่ตำราหรือหนังสืออ้างอิง  จึงควรมีความยาวในการอ่านประมาณ  ๑๕  นาที

 

                  ๓.๙  การสร้างลีลาการเขียนเฉพาะตัว  แต่ละคนมีลักษณะและลีลาการเขียนที่แตกต่างกัน  จะเลือกแบบใดก็ได้  แต่อย่าลืมว่าผู้เขียนได้ดีต้องเป็นนักอ่านที่ดีมาก่อน  แล้วจึงเลือกหาแนวถนัดของตนเองโดยไม่เลียนแบบผู้อื่น

 

                  ๓.๑๐  ทบทวนและปรับปรุง  เมื่อจบเรื่องควรทบทวนดูสาระของเรื่องว่าตรงกับชื่อเรื่องที่ตั้งไว้หรือไม่  จากนั้นอ่านตรวจทานอีกครั้ง  หรือถ้าได้เก็บเรื่องที่เขียนไว้สัก    วัน แล้วนำกลับมาอ่านตรวจอีกครั้งหนึ่ง  ก็จะยิ่งดี    

 ๔.     ภาพประกอบสารคดี

มีคำเปรียบเปรยไว้ว่า   ภาพดี ๆ เพียง ๑ ภาพ  แทนคำบรรยายได้นับ  ,๐๐๐ คำ  สารคดีจึงต้องมีภาพประกอบ  เพื่อให้งานเขียนสมบูรณ์  น่าเชื่อถือ  เรียกร้องความสนใจจากผู้อ่าน  ภาพประกอบสารคดีควรมีลักษณะ  ดังนี้  มีความคมชัด  เสริมให้เนื้อหาเด่น  ภาพกับเนื้อหาเป็นเรื่องเดียวกัน  เป็นภาพถ่ายจากแหล่งข้อมูลโดยตรง  มีมุมถ่ายหลายมุม  ถ้าใช้ภาพเขียนต้องให้ถูกต้องตามความเป็นจริง  มีคำบรรยายภาพที่ถูกต้อง  ชัดเจน  ภาพถ่ายมีทั้งแนวตั้ง  และแนวนอน

การวางแผนก่อนผลิตรายการ


ก่อนผลิตรายการ(Pre – Production)

เขียนบท (สตอรี่บอร์ด story board)

ทำไมต้องเขียนบท/สตอรี่บอร์ด

การเขียนบทหรือการเขียนสตอรี่บอร์ดคือการเขียนหรือวาดเล่าเรื่องย่อ ๆ ก่อนที่จะลงเรื่องจริง เป็นการไล่เรียงเรื่องราวจากก่อนไปหลัง บนไปล่างนั่นเอง การทำสตอรี่บอร์ดจะทำให้เราเห็นว่าซีนแต่ละซีนเป็นอย่างไร วิธีการนี้จะทำให้เราทำงานออกมาได้ง่ายขึ้น และเห็นภาพได้ชัดก่อนการลงมือถ่ายทำ ที่สำคัญคือ ในช่วงเวลาหลังการผลิต หรือการถ่ายทำคือการตัดต่อเพื่อเรียบเรียงเป็นสารคดีเราจะไม่ต้องกลับไปถ่ายซํ้าเพื่อเก็บภาพที่เราทำผิดพลาดไม่ได้ถ่ายมาเป็นการประหยัดเวลา งบประมาณ และอารมณ์

ในสารคดีหนึ่งๆ จะแบ่งองค์ประกอบได้ 4 ส่วนหลัก ๆ คือ

1. ภาพวีดีโอ

2. บทพูด บทบรรยาย บทสัมภาษณ์ บทสนทนา

3. เสียงประกอบ (ซาวนด์เอฟเฟ็คต์ หรือ เสียงเพลง)

4. เครดิต (ตัวหนังสือเพื่อบรรยายภาพ)

ขั้นตอนการเขียนบทหรือสตอรี่บอร์ด

1. หาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่เราอยากจะเล่าและนำเสนอ

2. จับประเด็นเรื่องที่อยากเล่า

3. วางโครงเรื่อง

4. เขียนแยกบทบรรยายแต่ละประเภทออกมาหรือ

วาดเป็นสตอรี่บอร์ดออกมาแล้วแยกประเภท

เสียง บทบรรยาย ภาพวีดีโอ

แหล่งข้อมูล มี บุคคล, หนังสือ, อินเตอร์เน็ต, ถามคำตอบเพื่อให้ได้หลากหลายคำตอบ

การวางแผนผลิตสารคดี(Proposal)

- ชื่อเรื่อง

- ประเภทรายการ

- ที่มาของสารคดี

- จุดประสงค์

- พิธีกรและผู้บรรยาย

- ประเด็นที่ต้องการนำเสนอ:

- โครงเรื่อง:

- สถานที่

- ระยะเวลา

- ผู้ชมเป้าหมาย

โครงสร้างสารคดี

- ผู้ผลิตสารคดี